สำนักงานสีเขียว (green office) หรือสานักงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมได้ถูกพัฒนาขึ้นมาโดยนักวิชาการจากคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม โดยมีคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความเชี่ยวชาญด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมในองค์การ มาวิพากษ์และเสริมเพิ่มเติมข้อกำหนดของมาตรฐานสำนักงานสีเขียวหลายรอบโดยวิธีการวิพากษ์จากคณะผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความเชี่ยวชาญจากหลากหลายสาขาจนได้มาตรฐานสำนักงานสีเขียวขึ้นและประกาศใช้กับสำนักงานที่ให้ความสาคัญกับปัญหาสิ่งแวดล้อมทั้งภาครัฐ รัฐวิสาหกิจและเอกชนทั่วประเทศ โดยมีจุดมุ่งหมายในการพัฒนาสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืนของโลก

         ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องเกิดขึ้นจากกิจกรรมของมนุษย์ ซึ่งมีสาเหตุหลักจากขาดการควบคุมมลพิษก่อนปล่อยสู่สิ่งแวดล้อม ขาดความตระหนักในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม มลพิษดังกล่าวได้ถูกปลดปล่อยจากภาคอุตสาหกรรมชุมชนและภาคเกษตรกรรม ทำให้เกิดการเสื่อมสภาพของสิ่งแวดล้อมทั่วโลก ตัวอย่างเช่นความถี่ของปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่รุนแรงและทรัพยากรธรรมชาติไม่เพียงพอสาหรับการดำรงชีวิต

 สำนักงานที่จะได้รับเป็นสำนักงานสีเขียวจะต้องผ่านเกณฑ์สำนักงานสีเขียวเพื่อแบ่งระดับของสำนักงานออกเป็น 3 ระดับ ซึ่งสำนักงานจะต้องประเมินการจัดการสิ่งแวดล้อมภายในสำนักงานตามเกณฑ์ประเมินสำนักงานสีเขียวที่ประกอบด้วย 6 หมวด ดังนี้

การกำหนดนโยบาย การวางแผนการดำเนินงานและการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง

การสื่อสารและสร้างจิตสานึก

การใช้ทรัพยากรและพลังงาน

การจัดการของเสีย

สภาพแวดล้อมและความปลอดภัย

การจัดซื้อและจัดจ้างที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม