สำนักวิทยบริการฯ ได้ดำเนินงานตามนโยบายการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม มีการกำหนดแผนงานและมาตรการการจัดการขยะอย่างเหมาะสม มีการดำเนินงานตามแผน  โดยเลือกวิธีการจัดการที่เหมาะสม ลดปริมาณขยะ การใช้ซ้ำ การนำกลับมาใช้ใหม่ มีการตรวจสอบความถูกต้องในการคัดแยกและบันทึกปริมาณขยะ มีการจัดพื้นที่สำหรับรวบรวมขยะก่อนกำจัด และมีวิธีการส่งกำจัดที่เหมาะสมสำหรับขยะแต่ละประเภทซึ่งดำเนินการโดยกลุ่มการสร้านงจิตสานึกด้านการให้บริการและการใช้บริการอย่างประหยัดพลังงาน ในกิจกรรม 3 R (REDUUE, REUSE, RECYCLE) (เอกสารแนบ 4.1) ลดปริมาณขยะ (Reduce) มีการใช้ซ้ำ (Reuse) และ นำกลับมาใช้ใหม่ (Recycle) ด้วยกิจกรรม DIY by VRU (จากวัสดุเหลือใช้) หรือ กิจกรรม DIY (การประดิษฐ์สิ่งของต่างๆ ที่สำนักฯ) ซึ่งสามารถลดปริมาณขยะ เช่น ลดขยะแก้ว หลอด  กะลามะพร้าว ขวดพลาสติกกระดาษหนังสือพิมพ์เก่า กระสอบป่าน ซองกระดาษใส่นิตยสาร และวารสาร โดยสำนักวิทยบริการฯ มีการตรวจสอบ ความถูกต้องในการคัดแยกขยะ และบันทึกปริมาณขยะภายในสำนักวิทยบริการฯ ในแต่ละวัน ตั้งแต่เดือน พฤษภาคม-กันยายน และสำนักวิทยบริการฯ มีการตรวจสอบความถูกต้องในการคัดแยกขยะและบันทึกปริมาณขยะ ให้เป็นไปตามแผนงานจัดการขยะของสำนักวิทยบริการฯ ซึ่งจะมีมาตรการจัดการขยะ  และแบบติดตามการดำเนินงานตามมาตรการการจัดการขยะที่ชัดเจน (เอกสารหลักฐาน 4.2 – 4.8)  พื้นที่รวบรวมขยะก่อนส่งกำจัด และการส่งกำจัดที่เหมาะสมสำหรับขยะแต่ละประเภท สำนักวิทยบริการฯ มีการจัดพื้นที่สำหรับรวบรวบขยะ 2 จุด ประกอบไปด้วยพื้นที่รวบรวมขยะรีไซเคิลและพื้นที่ในการรวบรวมขยะย่อยสลาย สำหรับขยะรีไซเคิลจะเป็นที่รวบรวมไว้ก่อนจำหน่ายหรือนำมาใช้ในการประดิษฐ์กิจกรรม DIY ต่าง ๆ ขยะย่อยสลาย จะนำมาทำน้ำหมักชีวภาพ สวนใบไม้จะทำปุ๋ยหมักเพื่อนำมาใส่ปุ๋ยให้กับสวนผักและต้นไม้ที่ปลูกอยู่ห้องสมุดในสวนของสำนักวิทยบริการฯ เอง (เอกสารหลักฐาน 4.9 – 4.10)

            สำนักวิทยบริการฯ มีการกำหนดแผนงานและมาตรการจัดการน้ำเสียอย่างเหมาะสม มีการกำหนดแผนงานและมาตรการจัดการน้ำเสีย อย่างเหมาะสม และ  ได้ดำเนินงานตามมาตรการการจัดการน้ำเสีย พร้อมทั้งมีแบบติดตามการดำเนินงานตามมาตรการการจัดการน้ำเสีย (เอกสารแนบ 4.11 – 4.14) ซึ่งระบบการบำบัดน้ำเสียของทางมหาวิทยาลัยเป็นแบบบ่อผึ่งธรรมชาติ  โดยน้ำเสียผ่านทางท่อระบายขนาดใหญ่เข้าสู่สระบำบัดน้ำเสียแบบพืชบำบัดและกังหันเติมออกซิเจน  มีสติ๊กเกอร์รณรงค์การประหยัดน้ำ หรือใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพ (เอกสารหลักฐาน 4.15)  สำนักวิทยบริการฯ มีการใช้น้ำยาทำความสะอาดที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เช่น น้ำยาทำความสะอาดพื้น น้ำยาล้างจาน น้ำยาเช็ดกระจก ฯลฯ เพราะบริษัทผู้ผลิตได้ผลิตสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ดีต่อผู้ใช้และสิ่งแวดล้อม โดยใช้วัสดุย่อยสลายในธรรมชาติได้ง่าย  ใช้บรรจุภัณฑ์ที่สามารถรีไซเคิลได้ มีความปลอดภัยต่อผู้ใช้เมื่อใช้อย่างถูกวิธี ใช้หมึกพิมพ์ฉลากชนิด SOY INK ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (เอกสารหลักฐาน 4.16 – 4.17)  ด้านการจัดการ   น้ำเสียจากอาคารสำนักวิทยบริการฯ นั้น เนื่องจากมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ มีระบบการบำบัดน้ำเสียแบบบ่อผึ่งธรรมชาติ โดยนำน้ำเสียผ่านทางท่อระบายเข้าสู่สระบำบัดน้ำเสียแบบพืชบำบัด และน้ำตกเติมออกซิเจนด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ (เอกสารหลักฐาน 4.14 และ 4.18)

            สำนักวิทยบริการฯ มีการกำหนดแผนงานและมาตรการจัดการมลพิษทางอากาศ อย่างเหมาะสม ประจำปีงบประมาณ 2561 และได้ดำเนินการตามมาตรการการจัดการมลพิษทางอากาศ และติดตามผลการปฏิบัติงานด้วยแบบติดตามการดำเนินงานตามมาตรการการจัดการมลพิษทางอากาศของสำนัก มีการจัดพื้นที่ให้อากาศหมุนเวียนอย่างเพียงพอและถ่ายเทโดยสะดวก มีการกำจัดฝุ่นบนชั้นหนังสืออย่างสม่ำเสมอ รวมทั้งมีการกำหนดและตรวจตราให้ห้องสมุดเป็นเขตปลอดบุหรี่ตลอดจน มีการจัดการเพื่อควบคุมเสียงในห้องสมุด (เอกสารหลักฐาน 4.19 – 4.22) สำนักวิทยบริการฯ มีการตรวจวิเคราะห์ปริมาณฝุ่นละอองและวัดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ภายในอาคาร และได้มีกิจกรรมที่จัดการสิ่งเจือปนในอากาศ เช่น ฝุ่น ไรฝุ่น เชื้อรา เชื้อแบคทีเรีย สารเคมี ควันบุหรี่ โดยบุคลากรช่วยกันทำความสะอาดจุดต่างๆ เช่น มีการกวาดใบไม้บนดาดฟ้า ตัดกิ่งไม้ที่ยื่นเข้าไปตัวอาคารหรือบนหลังคา  เพื่อให้การระบายน้ำบนหลังคาเป็นไปอย่างรวดเร็วเพื่อลดน้ำขังบนดาดฟ้าเพราะใกล้หน้าฝน และมีการกวาดใบไม้และทำความสะอาดบริเวณรอบๆ สำนัก มีการล้างเครื่องปรับอากาศทุก 6 เดือนและล้างแผ่นกรองทุก 2 เดือน มีการกำหนดพื้นที่ห้ามสูบบุหรี่ มีการดำเนินกิจกรรม 5ส ของพนักงานทำความสะอาดของสำนัก เนื่องจากสำนักวิทยบริการฯ มีลักษณะเป็นอาคารที่ปิดตายไม่สามารถเปิดหน้าต่างเพื่อระบายอากาศทำให้มีฝุ่นละอองที่เป็นมลพิษวนอยู่ภายในตึก จึงได้มอบหมายให้แม่บ้านกำจัดฝุ่นทุกวันจันทร์ พุธ และวันศุกร์ มีการปลูกต้นไม้ที่ดูดสารพิษภายในอาคารพร้อมทั้งให้ความรู้เกี่ยวกับต้นไม้ (เอกสารหลักฐาน 4.22 – 4.29)  มีการจัดการเพื่อควบคุมเสียง

  1. สำนักวิทยบริการฯ มีการจัดพื้นที่สำหรับผู้ใช้บริการที่ต้องการใช้เสียงไว้ เช่น มุมนันทนาการ สามารถเล่นเกมเพื่อความบันเทิง และใช้เสียงได้
  2. สำนักวิทยบริการฯ มีการจัดบริเวณงดใช้เสียงไว้ ซึ่งจะมีป้ายติดด้วยข้อความว่า “ขอความร่วมมือไม่ส่งเสียงดัง” ส่วนมากจะเป็นบริเวณห้องโถงที่มีพื้นที่ค่อนข้างกว้าง (เอกสารหลักฐาน 4.30)

              บุคลากรของสำนักร่วมจัดทำแผนและดำเนินการเตรียมความพร้อมเพื่อลดความเสียหายจากเหตุฉุกเฉินกับทางมหาวิทยาลัย เช่น มีการจัดโครงการให้ความรู้เรื่องการปฏิบัติตนจากเหตุการณ์เกิดอัคคีภัย ในปีงบประมาณ 2560  เพื่อให้ความรู้แก่บุคลากร มีแผนทำบันไดหนีไฟเพื่อให้เป็นไปตามกฎกระทรวงกำหนดประเภทและระบบความปลอดภัยของอาคารที่ใช้เพื่อประกอบกิจการเป็นสถานบริการ พ.ศ. 2555 ภายในอาคารมีอุปกรณ์ส่งสัญญาณหนีไฟที่มีเสียง และส่งสัญญาณเสียงให้คนที่อยู่ในอาคารได้ยินหรือทราบอย่างทั่วถึง มีการติดตั้งเครื่องดับเพลิงแบบมือถือหรือเครื่องดับเพลิงยกหิ้วตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม โดยการติดตั้งให้กระจายครอบคลุมทั้งพื้นที่ และมีเจ้าหน้าที่ตรวจสอบคุณภาพของถังดับเพลิง ตัวอย่างรายงานระบบตรวจสอบถังดับเพลิงเหนือทางออกหรือประตูทางออกมีป้ายบอกทางหนีไฟด้วยตัวอักษรหรือสัญลักษณ์แสดงทางหนีไฟที่สามารถมองเห็นได้ชัดเจนตลอดเวลา (เอกสารหลักฐาน 4.31 – 4.36) มีการปรับปรุงป้ายสัญลักษณ์หนีไฟ ป้ายบอกทางหนีไฟด้วยตัวอักษรหรือสัญลักษณ์แสดงทางหนีไฟที่สามารถมองเห็นได้ชัดเจน   (เอกสารหลักฐาน 4.35) มีการติดตั้งถังดับเพลิงทั้งหมด 7 ถัง ซึ่งได้ติดตั้งตามจุดต่างๆ มีการดูแลอุปกรณ์ต่างๆ โดยบริษัท CAN SUPPLY (เอกสารหลักฐาน 4.37)